Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

รถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหายไป 1 สถานี

17 พฤษภาคม 2559

กำลังเป็นประเด็นร้อนตอนนี้สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะวิ่งจากบางใหญ่มาถึงเตาปูน จะเปิดใช้จริง 6 สิงหาคมนี้แล้ว ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่วิ่งจากบางซื่อ ห่างกันเพียง 1 กิโลเมตรเศษๆ เท่านั้น แล้วทำไมถึงไม่เชื่อมต่อกันล่ะ ?

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร หรือในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ เขากล่าวย้อนหลังไปเมื่อสองปีก่อนว่า จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 57 รัฐบาลมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า การเดินรถไฟฟ้าต้องไม่ผูกขาดกับเอกชนรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น รัฐบาลจึงมีคำสั่งให้หาเอกชนรายใหม่มาบริหารจัดการเดินรถ โดยไม่ใช้เอกชนรายเดิม นั่นก็คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม

“ตามหลักการแล้ว มติ ครม.ที่ออกมาเช่นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ในทางกายภาพกลับทำไม่ได้ เพราะถ้าเป็นเอกชนรายใหม่ จะทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อผู้โดยสารที่จะต้องเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า 2 ขบวนในการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ยกตัวอย่างเช่น การเดินทางจากบางพลัดไปห้วยขวาง ผู้โดยสารจะต้องนั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายไปที่หัวลำโพงแล้วเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เดิม) เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่ห้วยขวาง แต่ถ้าใช้เอกชนรายเดิมคือบีอีเอ็ม ผู้โดยสารก็ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าให้เสียเวลา” ดร.สามารถ ยกตัวอย่างเส้นทางให้เห็นภาพมากขึ้น

จากนั้น การเฟ้นหาเอกชนเดินรถ 1 สถานีจึงเริ่มต้นขึ้นในปี 2557 ด้วยการเจรจากับ บีอีเอ็ม หรือในฐานะผู้รับสัมปทานหน้าเก่าที่ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (หัวลำโพง-บางซื่อ) โดยจ้างให้บีอีเอ็มเดินรถถึงปี 2572 และให้รวม 1 สถานีเจ้าปัญหาพ่วงท้ายไปด้วย แต่บีอีเอ็มยอมทำให้เพียง 2 ปีเท่านั้น เพราะเกินจากนี้พวกเขาจะเข้าสู่ภาวะขาดทุน

NjpUs24nCQKx5e1EaetDQhz7mCc0DyNvjFZNJwvWQkY.jpg

จนกระทั่ง วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) ได้มีมติให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและรับจ้างดำเนินการ ไปจัดหาเอกชนสำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยมีเงื่อนไขว่า 
(1) ให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้า  
(2) เร่งรัดงานช่วงเตาปูน-บางซื่อ ให้เสร็จเป็นอันดับแรก โดย ดร.สามารถ ตั้งคำถามว่า “ใครจะไปทำได้ เพราะถ้าเอกชนรายใหม่ได้ทำ เขาจะไปใช้โรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าที่ไหน ดังนั้น จึงเห็นชัดๆ เลยว่าต้องเป็น บีอีเอ็ม เท่านั้นที่ทำได้ แล้วอย่างนี้ทำไมไม่ทำตั้งนานแล้ว ปล่อยให้เป็นปัญหาคาราคาซังทำไม ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่าปัญหาต้องเกิด”

ครม. ไม่อนุมัติ เขาทำกันมาแล้วตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เขาใช้วิธีการเจรจาตรงกับ BMCL แต่ ครม.ก็ไม่เอา เนื่องจากเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ ครม.กำหนดไว้ คือ เดินรถถึงปี 2572 จากนั้น พอการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ ครม.จึงบอกยกเลิก ยังไม่ทำในส่วนนี้(1สถานีที่เป็นรอยต่อ) ซึ่งเป็นส่วนที่แยกเฉพาะ และนำไปรวมกับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่กำลังดำเนินการอยู่ตอนนี้”

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.บีอีเอ็ม หรือ ในฐานะ MD แห่ง ช.การช่าง รับผิดชอบงานด้านรถไฟฟ้า กล่าวกับเจ๊ดำว่า หากบีอีเอ็มต้องลงทุนเพิ่ม 1 สถานี แต่สามารถเก็บค่าโดยสารเพิ่มได้เพียง 2 บาท จะทำให้บริษัทขาดทุนปีละ 2,000 ล้านบาท หากจะให้คุ้มทุนจะต้องอยู่ในอัตรา 9.50 บาทต่อกิโลเมตร เพราะการทำรถไฟฟ้าเพียงหนึ่งสถานีจะต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าคนอื่น ประกอบกับการเก็บเงินได้เพียงหนึ่งสถานี จะทำให้มีรายรับเพียงเล็กน้อย สวนทางกับรายจ่ายที่จะยิ่งโตขึ้น

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า? ทางออกของความไม่เชื่อมต่อ คือ
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใกล้วันเปิดหวูดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 6 สิงหาคมที่กำลังจะถึงนี้ โดย รฟม. เขามีหนทางแก้ปัญหาการเดินรถที่ยังไม่เชื่อมต่อกัน ดังต่อไปนี้ 
1. จะขอความร่วมมือกับองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) นำรถเมล์มาวิ่งเป็นระบบรถเวียน (Shuttle Bus) รับ-ส่งสถานีเตาปูนและสถานีบางซื่อ 
2. หารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำรถดีเซลรางวิ่งบนรางรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) รับส่งผู้โดยสารจากสถานีบางซ่อนที่เชื่อมกับสายสีม่วงไปยังสถานีบางซื่อ

และวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
1. นั่งรถเมล์ ขสมก
2. นั่งวินมอเตอร์ไซค์
3. เดินไปเอง

“เรายอมรับว่า เมื่อเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง การเดินรถจาก เตาปูน จะยังไม่เชื่อมต่อกับ บางซื่อ ดังนั้นทาง รฟม. จึงจัดให้มีบริการเสริม ซึ่งคาดว่าบริการทั้งสองประเภทจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ฟรี” ผู้ว่า รฟม. แนะวิธีเชื่อมต่อด้วยตัวเอง

ที่มา thairath

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว