การใช้ชีวิตคู่ ควรแต่งเข้าบ้านใคร หรือหาเรือนหอใหม่ดี?
สิ่งสำคัญของการสร้างครอบครัว
ไม่ใช่เพียงงานแต่งงานสุดเพอร์เฟกต์ที่คู่บ่าวสาวตั้งใจเนรมิตขึ้นเท่านั้น
แต่ยังเป็นการวางแผน ชีวิตคู่ ในระยะยาวกับคนที่จะอยู่ร่วมกับเราไปอีกยาวนาน
ซึ่งสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ
ที่คู่รักต้องตกลงกันให้ลงตัวเมื่อตัดสินใจจะสร้างครอบครัวร่วมกันคือ
หลังจากงานแต่งแล้ว ทั้งสองจะอยู่ร่วมกันในบ้านหลังใด
ทางเลือกของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขและความสัมพันธ์ในระยะยาวครับ ดังนั้น
ก่อนการแต่งงานควรตัดสินใจให้รอบคอบว่า
เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายชายจะย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวฝ่ายหญิง
หรือฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ย้ายไปอยู่ร่วมกับครอบครัวฝ่ายชาย
เมื่อมาถึงตรงนี้
หลายคนคงนึกถึงปัญหาของพ่อตากับลูกเขย
และแม่สามีกับลูกสะใภ้ที่มีให้เห็นมาทุกยุคทุกสมัย และสร้างความขัดแย้งกันในครอบครัวไม่ใช่น้อย
บางคู่อยู่ ๆ ไปอาจมองหน้ากันไม่ติด บ้างก็จบด้วยการแยกกันอยู่
หรือเลิกราหย่าร้างกันเพราะปัญหาที่ค่อนข้างเปราะบางเหล่านี้
ทำให้คู่รักหลายคู่ตัดสินใจสร้างเรือนหอใหม่ เพื่อสร้างครอบครัวเดี่ยว
ลองมาดูกันครับว่า 3 ทางเลือกของการใช้ ชีวิตคู่ หลังแต่งงาน มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
แบบที่ 1 ย้ายเข้าไปอยู่ร่วมกันที่บ้านของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ทุกคนล้วนมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
โดยเฉพาะใครที่จำเป็นต้องดูแลพ่อแม่ที่สูงวัยหรือมีปัญหาทางสุขภาพ
อาจไม่สามารถย้ายไปอยู่ที่อื่นได้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องพูดคุยกันให้เข้าใจถึงความจำเป็น
และปัญหาที่อาจเกิดตามมาหากหลังแต่งงานเลือกที่จะย้ายเข้าไปอยู่ร่วมบ้านของอีกฝ่าย
เช่น ความรู้สึกเป็นคนนอกของลูกเขยหรือสะใภ้
หรือแนวทางการอบรมเลี้ยงดูลูกที่อาจแตกต่างกันระหว่างเราและพ่อตาแม่ยายในบ้าน
ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกในภายหลัง
ข้อดี
ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีโอกาสดูแลพ่อแม่ของตน
และทำให้เรามีโอกาสได้ดูแลพ่อแม่ของอีกฝ่ายอย่างใกล้ชิด
หากมีลูก
จะมีปู่ย่าตายายคอยช่วยเลี้ยงดู
สามารถเริ่มต้น สร้างครอบครัว ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการผ่อนซื้อบ้านหลังใหม่เป็นเรือนหอ
ข้อเสีย
แม้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อตา-แม่ยายและลูกจะราบรื่นมาโดยตลอดก่อนแต่งงาน
แต่หลังจากการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไปนาน ๆ
ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะไม่มีวันผิดใจกัน เพราะการแต่งเข้าบ้านอีกฝ่าย
คือการแต่งเข้าแบบคนนอก
การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องในครอบครัว
รวมทั้งวิธีการเลี้ยงลูก อาจอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใหญ่ในบ้านด้วย
บางคนอาจเจอปัญหาที่ผู้ใหญ่ตามใจลูกมากเกินไป
ทำให้เด็กดื้อ ไม่เชื่อฟังพ่อแม่
พอพ่อแม่ว่ากล่าวตักเตือนก็จะรีบวิ่งเข้าหาคุณตาคุณยาย
แบบที่ 2 แยกมาอยู่เรือนหอแห่งใหม่ เป็นครอบครัวเดี่ยว
วิธีนี้ถือเป็นแนวคิดการใช้ชีวิตคู่ของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมที่สุด
เพราะสามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้คู่สามีภรรยาได้ใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้เงื่อนไขของคนทั้งคู่
โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความแตกต่างทางความคิดจากผู้ใหญ่
แม้ว่าจะต้องลงทุนซื้อบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือสร้างบ้านใหม่ด้วยตนเอง
ข้อดี
มีอิสระในการ สร้างครอบครัว กฏเกณฑ์ต่าง
ๆ ในบ้านสามารถกำหนดได้เอง
มีพื้นที่ส่วนตัวในการใช้ ชีวิตคู่
ได้ดูแลลูกในแบบของตนเอง
มีบ้านหลังใหม่เป็นสินทรัพย์ต่อไปในอนาคต
ซึ่งเมื่อมองระยะยาว หากกลายเป็นบ้านปลอดภาระแล้ว สามารถใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ในการยื่นขอสินเชื่อได้
ข้อเสีย
ต้องลงทุนซื้อบ้านหลังใหม่
ซึ่งต้องแบกรับภาระการผ่อนชำระอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย
หากอีกฝ่ายมีภาระที่ต้องดูแลพ่อแม่ชรา
อาจไม่สะดวกเรื่องการเดินทางไปมาระหว่างบ้านพ่อแม่กับบ้านใหม่ของตนเอง นอกจากจะวางแผนชีวิตคู่โดยการปลูกบ้านหลังใหม่ให้อยู่ไม่ไกลจากบ้านของพ่อแม่นัก
แบบที่ 3 ต่างคนต่างอยู่ เพื่อดูแลพ่อแม่ของตน
แน่นอนว่าทางเลือกในการใช้ชีวิตคู่แบบนี้ย่อมส่งผลดีต่อผู้เป็นพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย
ที่จะได้มีเราคอยดูแลท่านอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อคนสองคนตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกันแล้ว
เวลาและระยะทางอาจกลายเป็นปัญหาในการแยกกันอยู่แบบนี้
ไม่ว่าเราจะตัดสินใจเลือกทางใด
อย่าลืมว่าหากเราตัดสินใจโดยนึกถึงคนรักมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ
ในชีวิตของตัวเราเองแล้ว อาจส่งผลให้เกิดความระหองระแหงกันในระยะยาวได้
ทางที่ดีเราควรนั่งคุยกันแบบเปิดใจกันเสียตั้งแต่ตอนนี้
เพื่อจะได้ครองชีวิตครอบครัวกันไปได้ตลอดรอดฝั่งครับ
ข้อดี
ต่างฝ่ายต่างสามารถดูแลพ่อแม่และคนในครอบครัวได้อย่างเต็มที่
มีอิสระในการใช้ชีวิตส่วนตัว
ในกรณีที่ทำงานคนละเวลาหรือต่างเมืองกัน
ข้อเสีย
อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา
หากวางแผนชีวิตคู่ว่าจะมีทายาทด้วยกัน
อาจทำให้ต้องเดินทางเทียวไปอยู่บ้านนี้ทีบ้านนั้นที ทั้งที่จริง ๆ
แล้วลูกอยากให้พ่อแม่มาอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตามากกว่า
ไม่ว่าเราจะเลือกทางใด อย่าลืมว่า
หากเราตัดสินใจ สร้างครอบครัว โดยนึกถึงคนรักมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ
ในชีวิตของตัวเราเองแล้ว อาจส่งผลให้เกิดความระหองระแหงกันในระยะยาวได้
ทางที่ดีเราควรนั่งคุยกันแบบเปิดใจกันเสียตั้งแต่ตอนนี้
เพื่อจะได้หาตัวเลือกที่ดีที่สุดกับทั้งสองฝ่าย รับรู้ทั้งข้อดีและข้อเสีย
เพื่อจะได้ครองชีวิตครอบครัวกันไปได้ตลอดรอดฝั่งครับ
ที่มา : Krungsri Plearn Plearn
สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก
ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล
สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ >> คลิกที่นี่ <<