Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

รู้ยัง? ซื้อบ้านหลังแรก ลดหย่อนภาษีได้ถึง...สิ้นปีนี้! ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง

20 สิงหาคม 2562

       ถูกใจคนซื้อบ้าน หรือคอนโดหลังแรกอย่างแน่นอน สำหรับนโยบาย “มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งผู้ซื้อยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วมาตรการนี้ก็ยังมีเงื่อนไขอยู่มากเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้ Bangkok Assets มีสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ มาให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อ บ้าน-คอนโด หลังแรกกันครับ

บ้าน – คอนโด หลังแรกที่ซื้อ ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท
ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจ ซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดก็ตาม บ้านจะต้องมีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท เพราะถ้าราคาเกินกว่าที่กำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้

 
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านใหม่ป้ายแดง จะซื้อ "บ้านมือสอง" ก็ลดหย่อนได้ เพียงแค่คุณซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่ บ้านมือสอง รวมถึงคอนโด และที่สำคัญคุณต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้าน หรือคอนโด ที่ใดมาก่อน ก็อยู่ในเงื่อนไข แต่หากท่านมีที่ดินแล้วปลูกบ้านใหม่ไม่เข้าเกณฑ์
 

ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน – 31 ธันวาคม 2562 
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ที่ได้ออกนโยบายมานั้น มีผลตั้งแต่ 30 เมษายน จนถึง 31 ธันวาคม ในปี พ.ศ.2562 เท่านั้น และจำเป็นที่จะต้องโอนสิทธิ์ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

 
ลดหย่อนภาษีได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
การซื้อบ้านหลังแรกเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท สำหรับการซื้อบ้านที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาทเท่านั้น

 
ซื้อแล้วต้องถือครองกรรมสิทธิ์ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปีเต็ม (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์) 
ในช่วง 5 ปีนี้ ผู้ซื้อบ้านหลังแรกจะต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน หรือคอนโด ซึ่งหมายความว่าจะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ใดได้ เว้นแต่ว่าผู้ซื้อถึงแก่ความตายหรือกรณีอสังหาฯ นั้นสิ้นสภาพไปทั้งหมด


หากอยู่ระหว่างดาวน์ ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เพราะถือว่ายังไม่โอนกรรมสิทธิ์


อ้างอิง : kiatnakin.co.th ,กฎกระทรวง ฉบับที่ 348 (พ.ศ. 2562)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว