Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง

13 มกราคม 2566

ฝ้าเพดานเป็นส่วนประกอบสำคัญของบ้านที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม มีประโยชน์หลายด้านทั้งปกปิดงานระบบ สายไฟ ท่อประปา หรือโครงหลังคา ลดความร้อนที่เข้าสู่ห้อง ไปจนถึงช่วยดูดซับและลดเสียงรบกวนด้วย ซึ่งตัววัสดุฝ้าเองก็มีหลายประเภท เช่น ฝ้ายิปซัม ฝ้าระแนงไม้ ฝ้าไม้ เป็นต้น แล้วการตรวจสอบฝ้ายิปซัมต้องดูอะไรบ้าง บางกอก แอสเซทฯ มีคำตอบครับ 

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-02.jpg
1.ระดับฝ้าเพดาน
เบื้องต้นให้ทำการตรวจสอบด้วยสายตาว่าสภาพท้องฝ้ามีลักษณะเป็นแอ่ง หรือเอียงไม่ได้ระดับหรือไม่ โดยใช้ตลับเมตรทำการวัดระดับความสูงจากพื้นถึงฝ้า (Floor to Ceiling) ของแต่ละจุด โดยทั่วไปความสูงฝ้าที่ใช้กันประมาณ 1-2 เซนติเมตรถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากพบว่าความสูงจากพื้นถึงฝ้ามีความต่างกันมาก เช่น ต่างกัน 5 เซนติเมตร แสดงว่าระดับฝ้ามีปัญหา ให้ทางโครงการทำการแก้ไขให้เรียบร้อย 

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-03.jpg
2.ระดับความสูงฝ้า
โดยทั่วไป หากรู้สึกว่าระดับฝ้าต่ำผิดปกติ หรือรู้สึกอีดอัด ลองทำการวัดความสูงฝ้าจากพื้นถึงฝ้า (Ceiling to Floor) โดยทั่วไปความสูงจากพื้นถึงฝ้าสำหรับบ้านพักอาศัยไม่ควรน้อยกว่า 2.60 เมตร ถ้ายิ่งสูงมากจะยิ่งรู้สึกโปร่ง 

ฝ้าเพดานบ้าน ควรสูงเท่าไหร่ดี

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-04.jpg
3.ชนิดฝ้าเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่
ในกรณีพื้นที่ใช้งานทั่วไป เช่น ห้องนอน ห้องพักผ่อน ห้องรับแขก สามารถใช้ฝ้าทั่วไปได้ แต่ถ้าเป็นห้องน้ำ ฝ้าภายนอก โรงจอดรถ หรือฝ้าชายคาควรเป็นฝ้าประเภททนชื้น โดยเนื้อวัสดุมีการผสมสารป้องกันการดูดซึมความชื้น การตรวจสอบสามารถดูได้จากที่ตัวผลิตภัณฑ์จะมีระบุข้อความชัดเจนว่า “แผ่นยิปซัมทนความชื้น” หรือมีลักษณะด้านหลังและขอบฝ้าเป็นสีเขียว

ส่วนใหญ่พื้นที่ที่ตรวจสอบหรือเข้าถึงได้จะเป็นบริเวณใต้หลังคา โดยการปีนขึ้นใต้หลังคาจากช่องเซอร์วิส แล้วดูตำแหน่งฝ้าที่เป็นห้องน้ำและชายคาว่ามีลักษณะเป็นฝ้าทนชื้นหรือไม่ และหากพบว่าบริเวณดังกล่าวไม่ได้เป็นฝ้าทนชื้นควรแจ้งโครงการให้ทำการเปลี่ยนใหม่เป็นฝ้าทนชื้นแทน

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-05.jpg
4.รอยต่อระหว่างแผ่นและรอยต่อติดผนัง
ปกติฝ้าจะมีขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร ดังนั้นเวลาติดตั้งจะทำการยึดฝ้าเข้ากับโครงฝ้าด้วยสกรูเกลียวปล่อย และบริเวณรอยต่อฝ้าและขอบฝ้าที่ชนผนังแต่ละแผ่นจะมีเทปผ้าปิดและทำการฉาบให้เรียบเพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อ การตรวจสอบให้ดูด้วยสายตาว่าฝ้าทั้งผืนเรียบสนิทดีหรือไม่ หากฝ้านูนเป็นสันตามรอยต่อหรือแตกไม่เรียบให้แจ้งทางโครงการเพื่อทำการแก้ไขฉาบแต่งผิวใหม่ให้เรียบ

หากเป็นฝ้าทีบาร์ (ฝ้าที่มีโครงลักษณะตัวที แล้วนำแผ่นฝ้าไปวางบนโดยไม่ต้องฉาบเก็บรอยต่อ) ให้ทำการตรวจสอบแนวทีบาร์ว่าตรงหรือไม่ ไม่ตกท้องช้า การวางฝ้าแนบสนิท ไม่กระดก หรือมีร่องตามขอบฝ้า

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-06.jpg
5.ตรวจสอบว่ามีช่องเซอร์วิสใต้หลังคาหรือไม่
สำหรับกรณีบ้านพักอาศัยทั่วไปควรจะมีช่องเซอร์วิสบริเวณฝ้าสำหรับขึ้นไปใต้หลังคา เพื่อทำการซ่อมหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อยู่ใต้หลังคา เช่น งานระบบไฟฟ้า, น้ำรั่วจากหลังคา เป็นต้น

โดยทั่วไปช่องเซอร์วิสจะมีขนาดเหมาะสมสำหรับคนขึ้นไปได้ เช่น ขนาด 0.60x0.60 เมตร การตรวจสอบให้ตรวจสอบสภาพความเรียบร้อย บริเวณที่เปิดต้องมีขอบรองรับแข็งแรง ขอบฝาไม่บิ่นหรือแตกเสียหาย

6 เทคนิคตรวจสอบ และตรวจรับงานฝ้าเพดานด้วยตัวเอง-07.jpg
6.ตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป
สิ่งสุดท้ายที่ต้องตรวจสอบคือความเรียบร้อยทั่วไป เช่น งานสี ทาสีเรียบร้อย ไม่ด่าง หรือเป็นเม็ด ตำแหน่งรูเจาะต่างๆ เช่น โคมไฟ ต้องไม่มีช่องห่างตามขอบรอบโคมไฟ ขอบระหว่างผนังและฝ้าแนบสนิทไม่มีช่องห่าง เป็นต้น

ฝ้าเพดานภายในบ้าน เลือกแบบไหนดี?

สำหรับการตรวจสอบฝ้าก็มีเพียงเท่านี้ครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ แต่ถ้าซื้อบ้านตกแต่งให่กับบางกอก แอสเซทฯ เราเปลี่ยนฝ้าเพดานให้ใหม่ทั้งหลังจนไม่ต่างกับบ้านหลังใหม่เลยครับ 
 
ชมผลงานการตกแต่งบ้านที่ผ่านมาของบางกอก แอสเซทฯ >> Click << 


สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก <<

ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก

ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล 

สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ > คลิกที่นี่ <

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว